บล.กสิกรไทย แนะหุ้นเด่นหลบภัยโอมิครอน GFPT ราคาไก่พุ่ง – OSP กำลังซื้อฟื้น
บล.กสิกรไทย คาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าแกว่งในกรอบ 1,635 -1,660 จุด แนะติดตามการระบาดของโควิด หลังแนวโน้มผู้ติดเชื้อใหม่จ่อทะลุ 1 หมื่นรายต่อวัน แนะซื้อหุ้น GFPT รับอานิสงส์ราคาไก่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และ OSP หลังผลประกอบการเติบโตตามกำลังซื้อที่ฟื้นตัว
บล.กสิกรไทย คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า (10-14 ม.ค.) แกว่งตัวในกรอบ 1,635 -1,660 จุด โดยต้องติดตามสถาณการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่ผู้ติดเชื้อใหม่รายวันมีโอกาสแตะระดับ 1 หมื่นรายในระยะข้างหน้า
รวมถึงมาตรการควบคุมโควิดภายในประเทศที่อาจส่งผลกระทบต่อ sentiment การลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ของตลาดหุ้นไทยระยะสั้น อย่างไรก็ตามเรามองการปรับย่อลงจากประเด็นดังกล่าวเป็นโอกาสในการทยอยสะสมลงทุน
ส่วนบรรยากาศตลาดหุ้นในต่างประเทศดูไม่ค่อยสดใส ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปยังคงโดนแรงกดดันจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
หลังรายงานของ Fed ที่มีท่าที Hawkish มากกว่าตลาดคาด ทั้งนี้ตลาดหุ้นสหรัฐยังมีการทำ sector rotation หุ้นกลุ่มพลังานและกลุ่มการเงินปรับตัวโดดเด่น ขณะที่หุ้นกลุ่มอุปโภคบริโภคและกลุ่มสุขภาพปรับตัวลงมากกว่าตลาด
ภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่รายงานออกมาดูเป็นลบเล็กน้อยจากดัชนี ISM ภาคบริการสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 62.0 ในเดือนธ.ค. ต่ำกว่าตัวเลขคาดที่ระดับ 66.8 หลังจากพุ่งแตะ 69.1 ในเดือนพ.ย. ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน อย่างไรก็ตามดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการ
ขณะที่ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 207,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าคาดที่ระดับ 195,000 ราย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกต่ำกว่าระดับ 215,000 ราย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิดในสหรัฐไปแล้ว
ส่วนตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐพุ่งขึ้น 19.4% สู่ระดับ 8.02 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย. สูงกว่าคาดที่ระดับ 7.71 หมื่นล้านดอลลาร์ จากระดับ 6.72 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนต.ค. ทั้งนี้การที่สหรัฐขาดดุลการค้าต่อเนื่องอาจเป็นความเสี่ยงที่ทางสหรัฐอาจยกประเด็นนี้มากดดันจีนอีกครั้งได้เช่นกันในระยะข้างหน้า
ด้านปัจจัยภายในประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า RCEP ที่ได้เริ่มเปิดเสรี 1 ม.ค.2565 ในเชิงการค้าระหว่างประเทศนั้น ประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการลดภาษีนำเข้าครั้งนี้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ได้เปิดเสรีไปแล้วตามความตกลง FTA อาเซียนกับคู่ภาคี Plus 5
โดยผลบวกทางตรงเกิดขึ้นอย่างชัดเจนจะอยู่ในตลาดจีนและเกาหลีใต้ ในกลุ่มสินค้าเกษตร อาหารและสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการที่ไทยส่งออกไม่มากอยู่แล้ว ขณะที่ผลบวกทางอ้อมมาจากการเปิดเสรีการค้าระหว่างกันเป็นครั้งแรกของ Plus 5 อยู่ในกลุ่มที่ไทยอยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดิมที่ส่งออกไปยัง Plus 5 อาทิ ยานยนต์/ชิ้นส่วน เม็ดพลาสติก/ผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ยางพารา/ผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ในเชิงของการลงทุนมองว่าไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิต RCEP ยังมีโอกาสได้อานิสงส์เม็ดเงินลงทุนในอนาคตต่อยอดการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีดั้งเดิมอย่าง HDDs IC การประกอบวงจรพิมพ์ ยานยนต์
แต่โจทย์สำคัญหลังจากนี้คือการดึงดูด FDI กลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจหลักที่จะช่วยยกระดับโครงสร้างการผลิตของไทยให้ก้าวไปสู่อุตสาหกรรม S-Curve อย่างไรก็ตามการดึงดูด FDI ของไทยต้องแข่งขันกับประเทศอาเซียนอื่นเช่นกัน โดยเฉพาะเวียดนามและอินโดนีเซียต่างก็อยู่ใน RCEP จึงมีโอกาสคว้าการลงทุนได้เหมือนไทย
ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องเร่งร่วมมือพัฒนาให้ไทยมีแรงดึงดูดการลงทุนเหนือคู่แข่ง ทั้งการจัดทำ FTA กับประเทศสำคัญที่เป็นตลาดเป้าหมาย การสร้างบรรยากาศการลงทุนที่เป็นตัวช่วยเสริมให้ธุรกิจมีความคล่องตัว การเตรียมความพร้อมรองรับกระแส ESG ตลอดจนการผลักดันมาตรการส่งเสริมการลงทุน
โดยมีหุ้น (Top Picks) แนะนำ ดังนี้
– GFPT (ราคาพื้นฐาน 15.00 บาท) คาดจะได้รับ sentiment จากราคาไก่ที่ปรับตัวสูงขึ้นและความต้องการในประเทศฟื้นตัวต่อเนื่อง
– OSP (ราคาพื้นฐาน 38.00 บาท) คาดกำไรสุทธิเติบโตขึ้น QoQ ในไตรมาส 4 หนุนจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่ฟื้นตัวขึ้นจากการเปิดเมือง และหากต้นทุนการผลิตมีการปรับตัวลงในปีนี้หรือบริษัทสามารถปรับราคาขายขึ้นได้จะเปิด upside เพิ่มเติมต่อราคาหุ้น
ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
-10 ม.ค. ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานจากสถาบัน CB (ธ.ค.) US
-11 ม.ค. ฐานะสุทธิของเงิน EU ของนักลงทุนรายใหญ่จากรายงานของคณะกรรมการ CFTC
-12 ม.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีน (เดือนต่อเดือน) (ธ.ค.), ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) (ปีต่อปี) (ธ.ค.) US ตลาดคาด 4.9%, ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) (เดือนต่อเดือน) (ธ.ค.) US ตลาดคาด 0.5%
-13 ม.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) (เดือนต่อเดือน) (ธ.ค.) US ตลาดคาด 0.4%
-14 ม.ค. ดัชนียอดขายปลีกพื้นฐาน (Core Retail Sales) (เดือนต่อเดือน) (ธ.ค.) US ตลาดคาด 0.3%, ดัชนีภาคการผลิตอุตสาหกรรม (เดือนต่อเดือน) (ธ.ค.) US ตลาดคาด 0.4%