ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยเงินบาทวันนี้ปิดตลาดที่ระดับ 38.02 อ่อนค่าตามสกุลเงินเอเชีย
น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เผยเงินบาทวันนี้อ่อนค่ามาปิดตลาดที่ระดับ 38.02 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 37.58 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเช่นเดียวกับสกุลเงินเอเชียในภาพรวม ขณะที่เงินดอลลาร์ยังมีแรงหนุนต่อเนื่องจากบอนด์ยิลด์สหรัฐฯ ที่ขยับขึ้น โดยเฉพาะบอนด์ยิลด์ 2 ปีของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 15 ปี รับสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยและคงดอกเบี้ยยาวนานของเฟดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้ว่าเฟดอาจมีการชะลอขนาดการขึ้นดอกเบี้ยในรอบการประชุมปลายปีก็ตาม นอกจากนี้ การปรับตัวลงของราคาทองคำน่าจะเพิ่มแรงกดดันด้านอ่อนค่ามาที่เงินบาทด้วยเช่นกัน
สำหรับทิศทางฟันด์โฟลว์วันนี้ นักลงทุนเว็บหวยออนไลน์ ถูกกฎหมายต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 3,029.23 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตร 2,882 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการซื้อพันธบัตรระยะสั้น
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ คาดไว้ที่ 37.80-38.20 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางฟันด์โฟลว์และค่าเงินเอเชีย ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ต.ค. ของยุโรป ตลอดจนตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร และอัตราการว่างงานเดือน ต.ค. ของสหรัฐฯ
คลังคาดเฟดขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ชี้ ธปท.จับตาใกล้ชิด
รมว.คลังเผยแบงก์พยายามตรึงดอกเบี้ยนานที่สุดช่วยประชาชน ฝั่ง ธปท.ติดตามผลกระทบใกล้ชิด คาดเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 1-2 ครั้ง
วันนี้ (3 พ.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.75% นั้น สถาบันการเงินพยายามตรึงดอกเบี้ยไว้ให้ได้นานที่สุดในแต่ละแบงก์ โดยเฉพาะเป็นเรื่องที่เพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบการ ว่าในแง่หนี้รายย่อยก็ตรึงไว้ ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ติดตามภาระผลกระทบว่ามีกับใครบ้าง ซึ่งพยายามบรรเทาผลกระทบให้ดีที่สุด
“เราอยู่ในช่วงการฟื้นตัว แต่ยอมรับว่าสหรัฐฯ ยังไม่หยุดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และครั้งนี้ขึ้นเยอะหน่อย แต่อาจจะมีอีก 1-2 ครั้ง คงต้องช่วยกันประคองให้ระบบการเงินของเราพยุงไปได้และไม่เป็นหนี้เสีย เราจึงออกโครงการมหกรรมแก้ไขหนี้ขึ้นมา”
ทั้งนี้ สาเหตุที่อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ของสถาบันการเงินของรัฐสูงกว่าแบงก์พาณิชย์นั้น เนื่องจากแบงก์รัฐได้ช่วยเหลือประชาชนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการพักชำระหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นกลไกของรัฐในการช่วยประชาชนและธุรกิจ ขณะที่แบงก์พาณิชย์ประกอบธุรกิจและป้องกันความเสี่ยง